วันที่ื 22 มกราคม 2564
การเรียนการสอนวันนี้เป็นรูปแบบออนไลน์ อาจารย์ได้ให้นำเสนอในหัวข้อสัมมนาที่คิดในสัปดาห์ที่แล้ว โดยวันนี้นำเสนอกลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ 3
กลุ่มที่ 1 หัวข้อ บทบาทของผู้ปกครอง กับการส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกในศตวรรษท่ี 21
สมาชิกในกลุ่ม
นาย อภิชัย กลมนิล เลขที่ 18
นางสาวฐิติรัตน์ นันตสุข เลขที่ 12
นางสาว สุทธิดา ยุคใหม่ เลขที่ 21
นางสาว ณัฐชา พวงจันดา เลขที่ 22
คำถาม
คำถามข้อที่ 1 : ถ้าลูกติดเทคโนโลยีมากเกินไปควรทำอย่างไร ?
คำตอบ การใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีมากเกินไป ส่งผลทำให้เกิดภาวะสมาธิสั้นเทียมได้ โดยทั่วไปเด็กจะมีอาการคล้ายๆ กับโรคสมาธิสั้น ซึ่งสาเหตุเกิดจากสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่ตามใจลูกมากเกินไป เด็กบางคนหมกมุ่นแต่กับเกม เวลาไปเรียนก็จะนึกถึงแต่เรื่องเกม จนขาดสมาธิในการเรียน หากพ่อแม่ ผู้ปกครองเข้าใจและปรับเปลี่ยนการเลี้ยงดู
เด็กก็จะมีอาการดีขึ้นโดยไม่ต้องเข้ารับการรักษา ผู้ปกครองควรสนใจว่าลูกใช้ประโยชน์หรือเล่นแอพพลิเคชั่นอะไรจากอุปกรณ์เหล่านี้บ้าง และควรมีเทคนิคในการควบคุมดูแลเด็กๆ ในยุคดิจิทัล ดังนี้ 1.กำหนดเวลาให้ชัดเจน
2.สอดส่องดูแล คอยดูว่าสิ่งที่ลูกเล่นอยู่คืออะไร มีความเหมาะสมมากน้อยแค่ไหนกับวัยของเขา
3.ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ใช้สื่อเทคโนโลยี เพราะยังไม่มีความจำเป็นสำหรับเด็กในวัยนี้ ให้เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูก อย่างการพูดคุยหรือกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการดีกว่า
4. เล่นอย่างสมดุล
5. พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดี
คำถามข้อที่ 2 : หากผู้ปกครองไม่มีเวลาให้ลูก ควรทำอย่างไร ?
คำตอบ ยุคสมัยนี้ คุณพ่อคุณแม่ต่างต้องช่วยกันทำงานนอกบ้าน ไม่อย่างนั้นรายได้อาจจะไม่พอกับรายจ่าย เพราะไหนจะค่าบ้าน ค่ารถ ค่าอาหาร ค่าเรียนของลูกอีก ทำให้พ่อแม่ยุคนี้ต้องขยันกันตัวเป็นเกลียวเพื่อจะได้มีเงินใช้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย แต่ผลที่ตามมาก็คือ คุณอาจจะยุ่งกับงานมากจนไม่มีเวลาให้ลูกเลย และอาจส่งผลเสียในระยะยาวได้
เรื่องนี้สำคัญมากนะคะ เพราะหากคุณไม่มีเวลาให้เด็กๆ เลย อาจจะทำให้พวกเขากลายเป็นเด็กมีปัญหา ขาดความอบอุ่น ไม่รู้สึกใกล้ชิดกับพ่อแม่ และกลายเป็นช่องว่างระหว่างกันได้ สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังกังวลเรื่องนี้ Happy Mom.Life มีคำแนะนำมาฝากค่ะ
ถึงทำงานหนัก คุณก็แบ่งเวลาให้ลูกได้ เพราะพ่อแม่ยุคใหม่จะทำงานเก่งอย่างเดียวไม่ได้ ต้องบริหารเวลาเป็นด้วย!
1. จัดลำดับความสำคัญสิ่งต่างๆ ในชีวิต
ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ต้องจัดลำดับความสำคัญของชีวิตให้ดีเสียก่อน บางทีในหนึ่งวันเราอาจทำอะไรได้มากมาย หากเราจัดระเบียบกิจกรรให้ดีๆ แนะนำว่าให้จดสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวันลงไป เพื่อให้เรากรุ๊ปความคิดได้ชัดเจน
2. เช็คดูว่าเราเสียเวลากับอะไร
คนเรามีเวลา 24 ชั่วโมงเท่าๆ กัน แต่บางคนกลับรู้สึกมีเวลาไม่พอ ไม่มีเวลาให้ลูก อาจเป็นเพราะว่าเราบริหารเวลาไม่ดีพอก็ได้นะค
3. หนักแน่นกับวันหยุด
คุณแม่อาจจะชอบทำงานนอกบ้านมากก็จริง แต่บางทีเราก็ต้องหนักแน่นกับการใช้วันหยุดให้มีคุณภาพเช่นกัน
4. ยอมเสียบางอย่าง เพื่อได้บางอย่าง
คุณแม่อาจจะต้องยอมเสียบางอย่างไปบ้าง เช่น เสียโอกาสไปนั่งกินข้าวกับเพื่อนฝูง เสียโอกาสไปเดินช้อปปิ้ง เพื่อให้มีเวลามาอยู่กับลูกมากขึ้น แม้ว่าแรกๆ คุณแม่อาจจะไม่ค่อยชอบใจนัก แต่ถ้าแลกมาด้วยการได้มีเวลาอยู่กับลูกอย่างมีคุณภาพ
5. แบ่งหน้าที่กับคุณสามี
หากคุณรู้สึกเหนื่อยมากจริงๆ ลองพูดคุยตกลงกับคุณสามีเพื่อแบ่งหน้าที่กันดูแลลูกสิคะ
6. ให้ลูกมีส่วนร่วมในงาน
หากคุณคิดว่า อย่างไรก็ตามคุณไม่สามารถละทิ้งงานได้จริงๆ ก็ลองชวนลูกมาทำงานกับคุณเสียเลย (ในกรณีที่ลูกเริ่มโตแล้วนะคะ) ยกตัวอย่างเช่น ให้ลูกช่วยทำงานบ้านกับคุณ
คำถามข้อที่ 3 : ผู้ปกครองมีวิธีการเลือกใช้เทคโนโลยีให้กับลูกอย่างไร ?
คำตอบ เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของคนในยุคปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กที่อยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโตและพร้อมที่จะเรียนรู้ทุกเมื่อ ซึ่งหากพ่อแม่ ผู้ปกครองไม่ให้การดูแล และแนะนำอย่างใกล้ชิด ลูกน้อยก็มีสิทธิ์ที่จะใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ในทางที่ไม่เหมาะสมได้ การสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกเติบโตอย่างเข้มแข็งในสังคมที่เครื่องมือทางเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเทคโนโลยีเหล่านี้หากใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม ย่อมมีผลต่อลูก ทั้งด้านอารมณ์ และการเรียนรู้ อาจเริ่มต้นจากการ
- แบ่งสัดส่วนในการใช้เทคโนโลยีสำหรับลูก 10% ที่เหลือให้เขาเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่ทำอยู่เป็นประจำ เช่น การนำวัสดุต่างๆ มาประกอบเป็นของเล่น โดยให้เขาร้อยเรื่องราวด้วยตัวเอง
- ตัวผู้ปกครองเองสามารถเป็นสื่อที่ดี ในการถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ ผ่านการสนทนาและคำแนะนำเพื่อให้เขาได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง แต่ต้องไม่ขัดต่อความสุขของลูก
- การหาข้อตกลงร่วมกันโดยให้ลูกมีส่วนร่วม
กลุ่มที่ 2 หัวข้อเรื่อง เล่นกับลูกอย่างไรให้ลูกป้องกันตนเองจากสถานการณ์ล่วงละเมิดทางเพศ
สมาชิกกลุ่ม
นางสาวอัญชลี ปัญญา 6011200414 (9)
นายชัยพฤกษ์ ไชยวาสน์ 6011200539 (15)
นางสาวน้ำเพชร ปิยะคง 6011200570 (17)
คำถาม
คำถามข้อที่ 1 ทำไมเราต้องสอนเรื่องเพศให้ลูก
ตอบ
1.เข้าใจตนเอง
2.เข้าใจที่มาของตนเอง
3.ปกป้องตัวเองได้
4.ปลูกฝังทัศนคติที่ดี
คำถามข้อที่ 2 เด็กควรเรียนรู้เรื่องเพศตั้งเเต่ตอนไหน
ตอบ วัยอนุบาล 2 ขวบขึ้นไป
คำถามข้อที่ 3เราจะสอนเรื่องเพศอย่างไรให้เด็กเข้าใจ
ตอบ
1.ให้เด็กเลี้ยงสัตว์และสังเกตสัตว์
2.เล่นบทบาทสมมติ
3.ใช้หนังสือช่วยสอน
4.พูดคุยกับเด็กอย่างเปิดเผยไม่โกหก
5.เป็นตัวอย่างที่ดีให้เด็ก
คำถามข้อที่ 4 เทคนิคการสอนให้ลูกปลอดภัยจากการล่วง
ละเมิดทางเพศมีกี่เทคนิค
ตอบ 8 เทคนิค
คำถามข้อที่ 5 ปัจจัยเสี่ยงถูกละเมิดทางเพศในเด็กมีอะไรบ้าง
ตอบ
1.เด็กเล็กที่ไม่สามารถพูดสื่อสารได้
2.เด็กที่มีความพิการทางร่างกาย
3.เด็กที่มีพัฒนาการบกพร่อง
4.เด็กที่อาศัยอยู่กับบิดา หรือญาติที่เป็นผู้ชายเพียงลำพัง
กลุ่มที่ 3 หัวข้อเรื่อง วิกฤติลูกรักติดเทคโนโลยี
สมาชิกกลุ่ม
นางสาวตวงรัตน์ เจริญภาพ
นางสาวณัฏฐา กล้าการนา
นางสาวกัญญาภัค ดวงตาดำ
คำถามข้อที่ 1 ถ้าหากว่าคุณเป็นพ่อแม่ที่มีลูกติดแท็บเล็ตคุณจะมีวิธีการดึงดูดความสนใจเด็กออกจากแท็บเล็ตอย่างไร ?
ตอบ : กำหนดกติกาการเล่นมือถือ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกเล่นมือถือเพลินแบบไม่มีกำหนดเวลานะคะ แต่คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นผู้ควบคุมการเล่นของลูก โดยมีการกำหนดกติกากันก่อนว่า จะให้ลูกเล่นได้นานแค่ไหน เช่น ลูกเล่นได้ 1 ชั่วโมงเท่านั้น และควรจริงจังกับเวลาที่ตกลงกันด้วย ไม่ปล่อยให้ลูกเล่นเกินเวลา เพราะจะทำให้ลูกไม่เชื่อถือในคำพูดของคุณได้ค่ะ โดยปกติแล้วสำหรับเด็กเล็กๆ ควรให้เวลาเล่นมือถือไม่เกิน 1 ชั่วโมงค่ะ
คำถามข้อที่ 2 ผู้ปกครอง จะมีวิธีในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้ลูกอย่างไรจึงจะเหมาะสมและเกิดประโยชน์มากที่สุด ?
ตอบ : ปัจจุบันเด็กสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น พ่อแม่และครูจึงควรใส่ใจในการใช้เทคโนโลยีของเด็กเล็กเป็นพิเศษ เทคโนโลยีมีข้อดีอยู่หลายประการ และอยู่ในความสามารถที่เด็กจะฝึกฝนการใช้งานได้ เทคโนโลยีสามารถช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของเด็ก ตัวอย่างเช่น การเรียนรู้เรื่องการอ่าน A - Z โดยให้เด็กดูผ่านแอปพลิเคชั่นที่สามารถส่องไปบนหนังสือ (Ar Book) เด็กๆจะเพลิดเพลินกับภาพและเสียง ซึ่งเทคโนโลยีนี้สามารถใช้ได้ทั้งที่บ้าน และห้องเรียน เช่น พ่อแม่และครูสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น แล้วสามารถนำไปเปิดที่บ้านและโรงเรียนได้ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีไม่ได้เข้ามาแทนที่วิธีการสอนเด็กระดับปฐมวัยทั้งหมด เพียงแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนให้ดีขึ้น และเป็นสื่อกลางที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้
คำถามข้อที่ 3 ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดจากการที่เด็กติดสื่อและเทคโลยี มีอะไรบ้าง ?
ตอบ : เด็กขาดทักษะทางสังคมในการเล่นและอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น สายตาของเด็กมีปัญหาเพิ่มขึ้น เลียนแบบพฤติกรรมก้าวร้าวจากบุคคลในโซเชียล ติดสื่อเทคโนโลยีจนเกินความจำเป็น มีสภาวะสมาธิสั้นก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ลดลงเนื่องจาก กระบวนการเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และได้ลงมือปฏิบัติผ่านการเล่น
คำถามข้อที่ 4 เทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อเด็กปฐมวัยอย่างไรบ้าง ?
ตอบ : ขอบเขตของการพัฒนาทางกายจำกัดและลดลง การมุ่งเอาชนะจนในที่สุดอาจกลายเป็นพฤติกรรมประจำตัวของเด็ก ความสามารถในการปรับตัวมีน้อยลง การคิดวิเคราะห์น้อยลง ขาดการสืบเนื่องทางความคิด ส่งผลต่อการใช้เหตุผล
คำถามข้อที่ 5 ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ในการใช้สื่อ เทคโนโลยี คุณจะมีวิธีการอย่างไร ที่จะให้เด็กใช้สื่อได้อย่างเหมาะสม ?
ตอบ : ผู้ปกครองควรจัดสรรเวลาให้เด็กได้ใช้สื่อเทคโนโลยีเป็นเวลา ตั้งกฎข้อตกลงกันในครอบครัว และหากิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ภายในครัว เช่น การแสดงบทบาทสมมติ การเล่านิทาน การอ่านหลังสือ และการทำอาหารร่วมกัน ถ้าเป็นไปได้ขณะที่ลูกใช้สื่อเทคโนโลยี เราควรดูไปกับเขาและขณะเดียวกันคอยให้คำแนะนำ การตั้งคำถามให้เด็กได้เกิดกระบวนการคิดจะเป็นการเพิ่มการเรียนรู้ให้เด็กไปในตัว
รูปภาพบรรยายกาศการเรียนออนไลน์
สรุปการเรียนวันนี้
การเรียนสัมนาในครั้งนี้เพื่อนได้จัดการสัมนาในหัวข้อที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นเรื่องบทบาทของผู้ปกครองกับการส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกในศตวรรษที่21 ที่จะเป็นแนวทางการให้ความรู้ผู้ปกครองที่จะรับมือกับเทคโนโลยีในศตวรรษนี้การเลี้ยงลูก การส่งเสริมลูกให้ถูกวิธีและทันสมัยซึ่งในยุคสมัยนี้มีทักษะมากมายเช่น 3R8C เป็นทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 และเรื่องเล่นกับลูกอย่างไรให้ลูกปกป้องตนเองจากสถานการณ์ล่วงละเมิดทางเพศเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ดีมากในการสอนลูกแต่ก็เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากเช่นกัน ในการสัมมนาครั้งนี้เพื่อนนำเสนอออกมาได้ดีมีแนวทางและวิธีการสอนที่ชัดเจน มีเทคนิคในการพูดคุยกะลูกนี้ได้ การสังเกตพฤติกรรมของลูกและการแก้ปัญหาต่อไป เรื่องวิกฤติลูกรักติดเทคโนโลยี เนื้อหาประเด็นนี้ก็น่าสนใจเพราะยุคนี้เทคโนโลยีมีบทบาทมากกับเด็ก เด็กใช้เทคโนโลยีเก่งเกินวัยที่ควรจะได้รับเพื่อนมีการให้ความรู้และวิธีการเลือกเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับวัยของเด็กพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นถ้าหากติดเทคโนโลยีมากเกินไป การเรียนในวันนี้ได้เทคนิควิธีในการจัดสัมมนาครั้งต่อไปการพูดที่ถูกต้องและเหมาะสม
คำศัพท์
Offense การล่วงละเมิด
Learning skills ทักษะการเรียนรู้
Discipline ระเบียบวินัย
Crisis วิกฤติ
Effect ผลกระทบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น